กิจกรรมที่ 3 : การส่งเสริมสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D printer)
รศ.ดร.วัฒนพงศ์ เกิดทองมี สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้พัฒนาเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) ที่ชื่อว่า LekOboT มีความซับซ้อนต่ำ หาชิ้นส่วนสร้าง/ซ่อมแซมได้ง่ายและราคาถูก ทั้งนี้ รศ.ดร.วัฒนพงศ์ฯ ได้รับทุนสนับสนุนจากสภาวิจัยแห่งชาติ ในโครงการประเภททุนกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย (เชิงชุมชน/สังคม) ภายใต้โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม โดยจะนำเครื่องพิมพ์ 3 มิติ จำนวน 10 เครื่อง ขยายผลในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สวทช. จะจัดกิจกรรม “การสร้างชิ้นงาน 3 มิติจาก 3D Printer” เพื่อให้อาจารย์/นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ และครู/นักเรียนจากโรงเรียนในโครงการฯ ได้เรียนรู้การสร้างชิ้นงาน 3 มิติจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) ด้วยซอฟต์แวร์ OpenSource/ Freeware ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้แบบ STEM ที่ผู้เรียนจะได้ใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และออกแบบชิ้นงาน เพื่อนำมาสร้างโครงงานต่างๆ ได้1) รศ.ดร.วัฒนพงศ์ฯ ร่วมกับ สวทช. จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประกอบสร้าง 3D Printer” ให้แก่อาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
2) มหาวิทยาลัย ร่วมกับ รศ.ดร.วัฒนพงศ์ฯ ให้บริการประกอบสร้าง 3D Printer แก่โรงเรียนในท้องถิ่น (เฉพาะมหาวิทยาลัยที่สนใจ)
3) มหาวิทยาลัยออกแบบกิจกรรมและจัดทำแบบปฏิบัติการ “การสร้างชิ้นงาน 3 มิติจาก 3D Printer ด้วยซอฟต์แวร์ OpenSource/ Freeware”
4) มหาวิทยาลัยให้บริการวิชาการ ได้แก่ การจัดอบรม/ค่ายวิชาการ ให้แก่ครูและนักเรียนจากโรงเรียนในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ และโรงเรียนในท้องถิ่น
5) สวทช. และ มหาวิทยาลัย รวบรวมกิจกรรม/แบบปฏิบัติการ “การสร้างชิ้นงาน 3 มิติจาก 3D Printer ด้วยซอฟต์แวร์ OpenSource/ Freeware” แล้วนำไปเผยแพร่ในวงกว้างต่อไป