การประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ


 โพสต์เมื่อ 29 มี.ค. 2567 /   เปิดดู 79

การประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม

           เพื่อให้การบริหารงานภายใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ จึงกำหนดให้มีคณะกรรมการประจำสำนัก เพื่อทำหน้าที่วางนโยบาย และกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ให้คำปรึกษาแนะนำ เสนอความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาสำนัก รวมทั้งดูแล ติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงได้กำหนดการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ  ห้องประชุม ชั้น 1 อาคารบรรณราชนครินทร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  โดยในที่ประชุมได้เสนอ  แนวทางการดำเนินงานพัฒนาสำนัก จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้
      1. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนดิจิทัล และการบริหารจัดการชุมชนท้องถิ่นเพื่อเตรียมความพร้อมการเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City)
      2. แนวปฏิบัติในการดำเนินการขับเคลื่อนอันดับ เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ข้อมูลผู้มีส่วนร่วม

      มีบุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ได้แก่ 
        1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์  สุวรรณราช        ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก         
        2. นายวิโรจน์  เข็มเหล็ก                                      ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก   
        3. ดร.เสกสรร  นิยมเพ็ง                                      ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก         

    เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการวางนโยบาย และกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ให้คำปรึกษาแนะนำ เสนอความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาสำนัก ติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานของสำนัก

             

 

ผลการมีส่วนร่วม
    ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก  ของคณะกรรมการประจำสำนัก ได้ให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้
    1. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนดิจิทัล และการบริหารจัดการชุมชนท้องถิ่นเพื่อเตรียมความพร้อมการเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City)

         สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ได้ดำเนินการหารือการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนดิจิทัลกับหน่วย งานภายนอก จำนวน 3 แห่ง ได้แก่

         1.1 องค์การบริหารส่วนตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ การสร้างความร่วมมือ จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ 1) การให้ความรู้ประชาชนทุกช่วงวัยในชุมชนได้รับการเข้าถึงรู้เท่าทันและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล และ 2) การใช้อุปกรณ์ IoT จัดการสวน 

         1.2 เทศบาลตำบลวังชมภู  อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ การสร้างความร่วมมือ จำนวน 1 เรื่อง คือการให้ความรู้ประชาชนทุกช่วงวัยในชุมชนได้รับการเข้าถึงรู้เท่าทันและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล 

         1.3 เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ การสร้างความร่วมมือ จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ 1) Smart People การให้ความรู้ประชาชนทุกช่วงวัยในชุมชนได้รับการเข้าถึงรู้เท่าทันและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล และ 2) Smart City การบริหารจัดการเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์เพื่อเตรียมความพร้อมการเป็นเมืองอัจฉริยะ

2. แนวปฏิบัติในการดำเนินการขับเคลื่อนอันดับ เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ได้แจ้งว่า

2.1 การทำ black link จะต้องมีการประชาสัมพันธ์ผ่านทาง social ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น facebook หรือช่องทางอื่น ๆ ควรวางลิงค์จริงของมหาวิทยาลัยลงไปด้วยเพื่อ จะได้สามารถเก็บคะแนน black link  ได้  

2.2 google scholar ให้ประสานกับสถาบันวิจัยและพัฒนา กำหนดให้นักวิจัย ที่มีการตีพิมพ์ผลงานในส่วนของงานวิจัยจะต้องใช้อีเมล์ของมหาวิทยาลัยเป็นหลัก 
2.3 หน้าเว็บหลักของมหาวิทยาลัย ให้ทางเว็บมาสเตอร์ลงข้อมูลอัพเดทข่าวสารให้เป็นปัจจุบันและทำการใส่คำหรือข้อความที่มีความสำคัญลงไปเพื่อให้ทางบอร์ดของ google สืบค้นได้ง่าย
2.4  ส่วนเว็บไซต์ต่าง ๆ ของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยควรใช้โปรโตคอล https หรือ ssl ที่ทางมหาวิทยาลัยได้จัดทำ ซึ่งจะทำให้คะแนนโดยภาพรวมหรือการนำเสนอของมหาวิทยาลัยดีขึ้นด้วย

การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปพัฒนาการดำเนินงาน 
     ในเบื้องต้นนำผลจาการมีส่วนร่วม ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ดำเนินการปรับปรุงแผนการดำเนินงานในการบริหารจัดการของสำนัก ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567


การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนดิจิทัล จำนวน 3 แห่ง
1. องค์การบริหารส่วนตำบลดงมูลเหล็ก : วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 

    
2.เทศบาลตำบลวังชมภู : วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567

    

3.เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ : วันที่ 12 มีนาคม 2567