PCRU Smart University
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ มีการบริหารงานเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (Smart University) โดยนโยบายการบริหารงานของอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ระหว่างปี พ.ศ. 2566-2569 ในด้านการบริหารจัดการ เรื่องพัฒนาอาคาร สถานที่ และสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยให้ตามแนวคิดหลัก “A Smart University in the Green Park” โดยเน้นการส่งเสริมการลด หรือประหยัดการใช้พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ
แนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย
1. Smart Mobility สัญจรอัจฉริยะ
มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของการเดินทางสาธารณะ ภายในมหาวิทยาลัย โดยออกแบบระบบการสัญจรและการขนส่ง ให้มีความสะดวกปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาระบบนิเวศที่ดีของมหาวิทยาลัย เช่น มีการส่งเสริมให้ใช้รถพลังงานไฟฟ้า โดยมีจุดให้บริการแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เส้นทางเดินรถไฟฟ้าสาธารณะภายในมหาวิทยาลัย
2. Smart Community ชุมชนอัจฉริยะ
มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการปรับโครงสร้างการให้บริการที่มีอยู่ และการจัดหาบริการใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการ โดยเน้นการให้บริการแบบ One stop service เชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย รวมทั้งประชาชนเข้าถึงระบบได้อย่างครบวงจร และสะดวกสบาย ซึ่งมหาวิทยาลัยได้พัฒนา PCRU Think Mobile Application ภายใต้คอนเซป “Think Global Work Local” เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่น และบริการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น ข้อมูล Soft Power ของเพชรบูรณ์ ข้อมูลบริการอาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ และประชาชน เป็นต้น
3. Smart Environment สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ
เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการปรับปรุงคุณภาพ การเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ของการบริหารจัดการตลอดจนการติดตามเฝ้าระวัง สิ่งแวดล้อมและสภาวะแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยคาร์บอนต่ำ เช่น การดูแลสภาพอากาศ การจัดการขยะให้เป็นศูนย์ รวมถึงการสร้างสรรค์ระบบนิเวศในพื้นที่สีเขียว
4. Smart Energy พลังงานอัจฉริยะ
มหาวิทยาลัยมุ่นเน้นส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และมีการบริหารจัดการพลังงานด้วยเทคโนโลยี IoT เพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น มีการดำเนินการโครงการ Solar Roof Top โครงการพัฒนาอาคารต้นแบบโดยใช้เทคโนโลยี IoT ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า โครงการติดตั้งอุปกรณ์ IoT เพื่อควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไฟถนน เครื่องปรับอากาศ เครื่องเสียง ปั๊มน้ำ เป็นต้น
5. Smart Economy เศรษฐกิจอัจฉริยะ
มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นช่วยเพิ่มขีดความสามารถ และการสนับสนุนนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และการตลาด ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับคนในชุมชน ปรับปรุงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยและสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก สนับสนุนการสร้างสตาร์ทอัป การสร้างซอฟต์พาวเวอร์
6. Smart People พลเมืองอัจฉริยะ
มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากร อาจารย์ และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย รวมทั้งประชาชน ให้มีการพัฒนาความรู้ และการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ โดยจัดโครงการอบรม และสอบวัดความรู้ทางดิจิทัลให้กับนักศึกษา จัดโครงการอบรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย พัฒนาห้องสมุดดิจิทัล จัดพื้นที่ศูนย์กลางการเรียนรู้และพื้นที่ทำงานร่วมกัน (Co-working space) สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีให้กับอาจารย์ นักศึกษา
จากการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์มุ่งเน้นในการบริหารจัดการ ตามแนวคิดหลัก “A Smart University in the Green Park” ส่งผลให้เกิดโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ
เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City เป็นรูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล หรือข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารในการเพิ่มประสิทธิและคุณภาพของบริการชุมชน เพื่อช่วยในการลดต้นทุน และลดการบริโภคของประชากร โดยยังคงเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัยได้ในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น Smart City เป็นโครงการที่หลาย ๆ เมืองทั่วโลก พยายามพัฒนาให้เข้ากับยุค 4.0 โดยการเอาเทคโนโลยีมาผสานกับการใช้ชีวิตของประชาชน ไม่ว่าจะทั้งด้านการขนส่ง การใช้พลังงาน หรือโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะทำให้เมืองที่สะดวกสบายเหมือนในฝัน เกิดขึ้นได้จริง ทั้งยังทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขกันด้วย แนวคิด Smart City เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ซึ่งเป็นรากฐานในการเชื่อมโยงอุปกรณ์หรือสิ่งของรอบ ๆ ตัวเข้ากับโครงข่ายการสื่อสารแบบอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการวางผังเมืองที่ชาญฉลาด รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายรูปแบบการบริหารจัดการเมืองแบบ Smart City เป็นการสร้างเมืองที่จะมีการเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นการจัดสมดุลของสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน และเลือกใช้พลังงานสะอาด จึงช่วยลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหามลภาวะทางอากาศ น้ำเสีย ขยะ การระบายน้ำ ช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดี คุณภาพอากาศที่ดี เพิ่มพื้นที่สีเขียว และลดปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Heat Island Effect)
อ้างอิง
1) โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ, เข้าถึงได้จาก http://www.thailandsmartcities.com/about.html
2)“คน” ต้องมาก่อน “เทคโนโลยี” (2) มอง “สมาร์ทซิตี้” สิงคโปร์, เข้าถึงได้จากhttps://thaipublica.org/2018/06/singapore-smart-city-1/
(3) 6 Smart Cities น่าอิจฉา ตัวอย่างเมืองดี ๆ ที่เทคโนโลยีช่วยพัฒนา, เข้าถึงได้จาก https://thematter.co/pulse/smart-city/32385
(4)โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ, เข้าถึงได้จาก http://www.thailandsmartciti