PCRU Smart University

 1 พ.ย. 2566 / อภิรักษ์ อุ่นดี / 232

PCRU Smart University

         มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ มีการบริหารงานเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (Smart University) โดยนโยบายการบริหารงานของอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ระหว่างปี พ.ศ. 2566-2569 ในด้านการบริหารจัดการ เรื่องพัฒนาอาคาร สถานที่ และสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยให้ตามแนวคิดหลัก “A Smart University in the Green Park” โดยเน้นการส่งเสริมการลด หรือประหยัดการใช้พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ 

แนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย

1. Smart Mobility สัญจรอัจฉริยะ

มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของการเดินทางสาธารณะ ภายในมหาวิทยาลัย โดยออกแบบระบบการสัญจรและการขนส่ง ให้มีความสะดวกปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาระบบนิเวศที่ดีของมหาวิทยาลัย เช่น มีการส่งเสริมให้ใช้รถพลังงานไฟฟ้า โดยมีจุดให้บริการแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เส้นทางเดินรถไฟฟ้าสาธารณะภายในมหาวิทยาลัย

2. Smart Community ชุมชนอัจฉริยะ 

มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการปรับโครงสร้างการให้บริการที่มีอยู่ และการจัดหาบริการใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการ โดยเน้นการให้บริการแบบ One stop service เชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย รวมทั้งประชาชนเข้าถึงระบบได้อย่างครบวงจร และสะดวกสบาย ซึ่งมหาวิทยาลัยได้พัฒนา PCRU Think Mobile Application ภายใต้คอนเซป “Think Global Work Local” เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่น และบริการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น ข้อมูล Soft Power ของเพชรบูรณ์ ข้อมูลบริการอาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ และประชาชน เป็นต้น

3. Smart Environment สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ

เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการปรับปรุงคุณภาพ การเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ของการบริหารจัดการตลอดจนการติดตามเฝ้าระวัง สิ่งแวดล้อมและสภาวะแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยคาร์บอนต่ำ เช่น การดูแลสภาพอากาศ การจัดการขยะให้เป็นศูนย์ รวมถึงการสร้างสรรค์ระบบนิเวศในพื้นที่สีเขียว

4. Smart Energy พลังงานอัจฉริยะ

มหาวิทยาลัยมุ่นเน้นส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และมีการบริหารจัดการพลังงานด้วยเทคโนโลยี IoT เพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น มีการดำเนินการโครงการ Solar Roof Top โครงการพัฒนาอาคารต้นแบบโดยใช้เทคโนโลยี IoT ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า โครงการติดตั้งอุปกรณ์ IoT เพื่อควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไฟถนน เครื่องปรับอากาศ เครื่องเสียง ปั๊มน้ำ เป็นต้น

5. Smart Economy เศรษฐกิจอัจฉริยะ 

มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นช่วยเพิ่มขีดความสามารถ และการสนับสนุนนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และการตลาด ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับคนในชุมชน ปรับปรุงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยและสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก สนับสนุนการสร้างสตาร์ทอัป การสร้างซอฟต์พาวเวอร์ 

6. Smart People พลเมืองอัจฉริยะ

มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากร อาจารย์ และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย รวมทั้งประชาชน ให้มีการพัฒนาความรู้ และการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ โดยจัดโครงการอบรม และสอบวัดความรู้ทางดิจิทัลให้กับนักศึกษา จัดโครงการอบรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย พัฒนาห้องสมุดดิจิทัล จัดพื้นที่ศูนย์กลางการเรียนรู้และพื้นที่ทำงานร่วมกัน (Co-working space) สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีให้กับอาจารย์ นักศึกษา

เปิด-ปิด messenger การเดินทางด้วย Google Map ติดต่อเกี่ยวกับไอทีและหอสมุดกลาง